วันธรรมสวนะ

 
1.วันขึ้น 8 ค่ำ
2.วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
3.วันแรม 8 ค่ำ
4.วันแรม 15 ค่ำ
(หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
 
ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน
ประวัติความเป็นมา 
พระพุทธเจ้า ประทับ ณ ภูเขาคิชกูฏ กรุงราชคฤห์ ในครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พอถึงวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ประชุมกันกล่าวธรรม ชาวบ้านต่างพากันไปฟังธรรมกันด้วยความเลื่อมใส พระเจ้าพิมพิสาร ทรงดำริว่า พวกเดียรถีย์นอกพุทธศาสนา ประชุมกันแสดงธรรม ในวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ เป็นที่นิยมเลื่อมใสของประชาชนถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายจะกระทำเช่นนั้นบ้าง ก็จะได้รับความเลื่อมใส จากเหล่าชาวบ้านเช่นเดียวกัน จึงทรงนำพระดำรินี้ ขึ้นทูลพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงประชุมสงฆ์ แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า…
“ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาติให้ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์”
ในครั้งนั้น พวกภิกษุประชุมกันแล้วพากันนิ่งเฉยหมด ชาวบ้านเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น พากันตำหนิว่า ภิกษุเหล่านี้ ประชุมกันในวันพระแล้ว ทำไมจึงนั่งนิ่งเหมือนหมูอ้วนเล่า ธรรมเนียมของภิกษุประชุมกันควรผู้แสดงธรรมมิใช่หรือ
พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงอนุญาตให้มีการแสดงธรรมในวันพระ และต่อมาทรงเห็นว่า ควรจะนำเอาศีล ๒๒๗ ข้อของภิกษุ มาแสดงในวัน๑๔ หรือ ๑๕ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ที่เรียกว่าปาติโมกข์ด้วย จึงเป็นประเพณีนับตั้งแต่นั้นมา (อุโบสถขันธกะ วินัย ๔/๑๙๕)
พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ ( สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย )
วันโกนวันพระนั้น เป็นวันทีสำคัญมากสำหรับสมัยก่อน เพราะถือเป็นวันหยุด และ เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนเดินทางไปทำบุญที่วัด ฝ่ายทางพระก็จะมีการปลงผม ลงฟังพระปาติโมกข์ ทบทวนศีล 227 ข้อ
แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีติดต่อกับประเทศทางตะวันตกมากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ แทน จันทรคติ ซึ่งชาวไทยใช้แบบจันทรคติมาแต่โบราณกาล คือ
แบบสุริยคติ ถือเอา พระอาทิตย์เป็นหลัก มีการหยุด วันเสาร์ อาทิตย์ แบบชาวตะวันตก เพราะ อิทธิพลของศาสนาคริสต์ ซึ่งถือว่า วันสุดสัปดาห์เป็นวันพักผ่อน เพราะไบเบิลบันทึกว่า วันอาทิตย์ เป็นวันพักผ่อนของพระผู้เป็นเจ้าหลังจากที่ทรงสร้างโลกมา
แบบจันทรคติ ถือเอา พระจันทร์เป็นหลัก มีการดูข้างขึ้น ข้างแรม ดูความเว้าแหว่งของดวงจันทร์ แล้ว กำหนดว่า วันไหนเป็น วันเพ็ญ วันข้างขึ้น วันข้างแรม วันกี่ค่ำ
แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่เวทีโลก มีการเปิดประเทศ ติดต่อ ค้าขาย กับชาติตะวันตก ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักการ นับวัน นับคืน เป็นแบบยุโรปตามไปด้วย หรือ ก็คือ นำเอาปฎิทินแบบสุริยคติมาใช้นั่นเอง
ดังนั้นจะว่าไปปฎิทินแบบสุริยคติเลยกลายเป็นปฏิทินสากลที่ทั่วโลกยอมรับใช้กันอยู่ ในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขายในปัจจุบัน และ ปฎิทินแบบจันทรคติก็ค่อยๆ ลดบทบาทลง จนกระทั่งเป็นปฎิทินที่ใช้ในทางพระพุทธศาสนา ดูวันโกน วันพระ วันเพ็ญ และ ใช้ในทางโหราศาสตร์ ไปโดยปริยาย ไม่สามารถนำปฏิทินจันทรคติมาอ้างอิงในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขาย กับสากลโลกได้อีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Blogger news

Blogroll

About